พ่อแม่เตรียมรับมือ! 4 โรคยอดฮิตของเด็กๆ มักเกิดขึ้นบ่อย ในช่วงหน้าร้อน

ในช่วงฤดูร้อน นอกจากจะเจอกับอากาศที่แสนจะร้อนแล้ว ยังต้องเจอกับโรคที่มักมากับแดดร้อนๆ อีกด้วย อย่างที่เราทราบกันว่า แดดร้อนๆ เหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียบางชนิด โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุกับโรคทางเดินอาหาร

มาดูกันว่า 4 โรคยอดฮิตที่มากับหน้าร้อน มีโรคอะไรบ้าง?

1. โรคอุจจาระร่วงและอาหารเป็นพิษ

อุจจาระร่วงเกิดจากภาวะที่มีการถ่ายอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน อาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ไข้

อาหารเป็นพิษเกิดจากภาวะที่เกิดจากการทานอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค สารพิษ หรือโลหะหนัก อาหารและน้ำดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อโรค เชื้อไวรัส แบคทีเรีย

อาการที่มักพบบ่อย ถ่ายเหลว, คลื่นไส้, อาเจียน, ปวดท้อง

การป้องกัน

  • เลือกทานอาหารปรุงสุกใหม่
  • ดื่มน้ำสะอาด
  • ล้างมือบ่อยๆ
  • ดูแลความสะอาดของของใช้

2. โรคฮีทสโตรก

โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก (Heatstroke) เป็นภาวะฉุกเฉินที่เกิดจากอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นมาก เกิน 40 องศาเซลเซียส

อาการที่มักพบบ่อย ไข้สูง, ปวดศีรษะ, คลื่นไส้ อาเจียน, ผื่นแดง, สับสน กระวนกระวาย, ชัก หมดสติ

การป้องกัน

  • ให้เด็กสวมเสื้อผ้าโปร่งสบาย
  • ดื่มน้ำบ่อยๆ
  • อยู่ในที่ร่ม อากาศถ่ายเทสะดวก

3. โรคไข้หวัดใหญ่

โรคไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ เกิดจากเชื้อไวรัส influenza สาเหตุการสัมผัสกับผู้ป่วย, การไอ จาม, การสัมผัสละอองฝอยจากผู้ป่วย

อาการที่มักพบบ่อย ไข้สูง, ไอ มีเสมหะ, ปวดหัว ปวดเมื่อย, เบื่ออาหาร

การป้องกัน

  • ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่
  • ล้างมือบ่อยๆ
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วย

4. โรคผิวหนัง

โรคผิวหนังบางชนิด เช่น โรคภูมิแพ้ผิวหนัง โรคสะเก็ดเงิน สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม ระบบภูมิคุ้มกันโรคผิวหนังบางชนิดเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ เช่น โรคสะเก็ดเงิน โรคลูปัส และการติดเชื้อต่างเช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส สามารถทำให้เกิดโรคผิวหนัง เช่น กลาก เกลื้อน ไฟลามทุ่ง

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ เช่น สภาพอากาศ, การสัมผัส, ความเครียดสะสม

อาการที่มักพบบ่อย โรคผิวหนังมีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับประเภทของโรค เช่น ผื่น, รอยแดง, ตุ่มน้ำ, ผิวแห้ง, ผิวลอก, คันระคายเคือง

การป้องกัน

  • รักษาความสะอาด
  • หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้และสารระคายเคือง
  • ทามอยส์เจอร์ไรเซอร์
  • สวมเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี
  • หลีกเลี่ยงแสงแดด
  • จัดการความเครียด

หากมีอาการผิดปกติของผิวหนัง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษา